PAF Health สาเหตุที่ผู้สูงอายุควรใช้ เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ

สาเหตุที่ผู้สูงอายุควรใช้ เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ

รู้หรือไม่ว่าการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งปัญหาของวัยผู้สูงอายุในยุคปัจจุบันที่อาจนำไปสู่ภาวะความจำเสื่อมได้เลย 

เนื่องจากหูชั้นในเกิดการเสื่อมของการได้ยินเพิ่มขึ้นตามอายุแม้ว่าอาการหูตึงในผู้สูงอายุจะไม่เป็นโรคร้ายแรงอันตราย แต่ด้วยเป็นภาวะที่ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้สูงอายุเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว เกิดปัญหาระหว่างผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวกับผู้สูงอายุได้หากมีอาการรุนแรงนอกจากผลกระทบ ทางด้านร่างกายแล้วการไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างเป็นปกติยังมีผลกระทบทางด้าน จิตใจได้อีกด้วย

ฉะนั้น เมื่อพบว่าผู้สูงอายุมีอาการได้ยินไม่ชัด ได้ยินไม่ครบทั้งประโยค ขอให้พูดซ้ำหลายๆ ครั้ง ดูโทรทัศน์เสียงดังกว่าปกติ พูดเสียงดังกว่าปกติ อย่าชะล่าใจ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจการได้ยิน 

และอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ประสิทธิภาพการได้ยินของผู้สูงอายุดีขึ้นคือการใช้เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุนั่นเอง

แต่ก่อนอื่นเราจะมาบอกเล่าที่มาและสาเหตุหูอื้อ หรือ หูตึงในผู้สูงอายุ

เกิดจากการเสื่อมและตายของเซลล์ขนรับเสียง(Haircells)ในหูชั้นในรวมถึงประสาทบริเวณหูชั้น ในค่อยๆสึกกร่อนหรือฉีกขาดไปส่งผลให้เมื่ออายุมากขึ้นจะไม่ได้ยินช่วงเสียงแหลมความถี่สูงจาก นั้นความเสื่อมจะค่อยๆลามไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นระดับของเสียงพูด จึงทำให้ผู้สูงอายุเริ่มฟังไม่ชัดเจน โดยเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของความบกพร่องของการได้ยิน เช่น การรับประทานยาบางชนิด อาจเป็นปัจจัยให้ประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นได้ การเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือด โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ เป็นต้น

เมื่อไหร่ผู้สูงอายุควรตรวจการได้ยินและใช้งานเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ

อาการหูตึงจะเริ่มขึ้นทีละน้อยตามอายุที่มากขึ้น จึงสังเกตอาการได้ยาก ถ้าผู้สูงอายุมีอาการดังต่อไปนี้แสดงว่าหูเริ่มตึงแล้วให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจระดับการได้ยินและเริ่มใช้งานเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุได้แล้ว คือ

1.ผู้สูงอายุมักได้ยินคำเตือนว่าพูดเสียงดังเกินไป

2.ผู้ดูแล หรือญาติ พูดแล้ว ผู้สูงอายุทำหน้าไม่เข้าใจ และแสดงอาการว่าไม่ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง

3.ผู้สูงอายุมีอาการได้ยินไม่ชัด ได้ยินไม่ครบทั้งประโยค

4.ผู้สูงอายุ เปิดเสียงวิทยุหรือโทรทัศน์ดังจนข้างบ้านบ่น หรือไม่ค่อยได้ยินเสียงโทรศัพท์ ในขณะที่ผู้อื่นได้ยิน

5.ผู้สูงอายุเข้าใจสิ่งที่พูดได้ยาก ถ้าในขณะพูดมีเสียงเพลงหรือวิทยุดัง

เมื่อสังเกตอาหารแล้วพบตามข้อดังกล่าวมาควรเริ่มปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิมเริ่มการใช้งาน เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ ได้ทันที

โดยควรเลือกซื้อและใช้งานเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุที่มีการออกแบบและรองรับความปลอดภัย โดยผู้เชี่ยวชาญ

โดยส่วนมากผู้เชี่ยวชาญจะเลือกเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุจากการสูญเสียการได้ยินของ ผู้สูงอายุคนนั้นๆไป เช่น เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุที่หูตึง ซึ้งระดับสูญเสียการได้ยินจะแบบออกเป็น หูตึงน้อย หูตึงปานกลาง หูตึงมาก และ หูตึงรุนแรง และตัวเครื่องช่วยฟังจะมีอยู่ด้วยได้ 3 ประเภท คือ แบบคล้องหลังหู แบบใส่ในช่องหู และแบบพกพา โดยผู้ที่สูญเสียการได้ยิน น้อย – ปานกลาง จะสามารถใช้ได้ แบบใส่ในช่องหูได้ เพื่อปกปิดไม่ให้เห็นว่าใส่เครื่องช่วยฟัง ส่วนผู้ที่สูญเสียการได้ยิน มาก – รุนแรง จะใช้รุนที่ดังขึ้น เป็นต้น

Related Post

เตียงผู้สูงอายุ

เตียงผู้สูงอายุปรับระดับไฟฟ้า เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เตียงผู้สูงอายุปรับระดับไฟฟ้า เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด 

สำหรับการเลือกเตียงผู้สูงอายุปรับระดับไฟฟ้า โดยปกติแล้วจะเป็นเตียงที่ได้รับการออกแบบมาให้เหมาะสำหรับการใช้งานของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้พิการโดยเฉพาะ เนื่องจากเตียงเหล่านี้จะมาพร้อมกับฟังก์ชันที่ทันสมัย สามารถใช้งานได้ง่าย ตอบโจทย์ต่อผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญจะเป็นเตียงที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยอย่างแน่นอน ทั้งนี้ในปัจจุบันจะมีเตียงปรับระดับไฟฟ้าให้เลือกใช้งานอย่างมากมาย เราจำเป็นต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดีที่สุด 

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงราคาถูก ทางเลือกสำหรับครอบครัวที่มีงบประมาณจำกัดศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงราคาถูก ทางเลือกสำหรับครอบครัวที่มีงบประมาณจำกัด

สำหรับครอบครัวที่มีงบประมาณจำกัด การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบาก เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย เช่น ค่าอาหาร ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าจ้างผู้ดูแล เป็นต้น 

อาหารหลัก 5 หมู่

สุขภาพดีด้วยอาหารหลัก 5 หมู่สุขภาพดีด้วยอาหารหลัก 5 หมู่

รู้หรือไม่ว่า ไม่เพียงแต่การออกกำลังกาย และพักผ่อนให้ครบ 8 ชั่วโมงเท่านั้นที่ทำให้คุณสุขภาพดี แต่การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ยังถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการมีสุขภาพดีอีกด้วย อาหารหลัก 5 หมู่มีอะไรบ้าง หมู่ที่ 1 : โปรตีน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ และตระกูลถั่ว เช่น โปรตีน เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแระ